สพท. และ สสส. ร่วมกับ สปสช.พร้อมเครือข่ายทั้ง 12 เขตสุขภาพรวมพลังสร้างเครือข่ายสุขภาพจัดการโรค NCDs ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

Monday, June 30, 2025 – 18:30 PM.

“สพท. และ สสส. ร่วมกับ สปสช.พร้อมเครือข่ายทั้ง 12 เขตสุขภาพรวมพลังสร้างเครือข่ายสุขภาพจัดการโรค NCDs ในพื้นที่อย่างยั่งยืน”

สพท. และ สสส. ร่วมกับ สปสช.และเครือข่ายทั้ง 4 ภูมิภาค  18 พื้นที่ 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศไทย

สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย (สพท.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 18 พื้นที่ ทั่วประเทศไทยเดินหน้าขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพ เพื่อป้องกันโรค NCDs ในชุมชนอย่างยั่งยื่น ในวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา สมาคมเพื่อนโรคไตฯ จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ณ ห้องประชุมแมคโนเลีย 2-3 ชั้น 4 อาคาร 3 โรงแรม ทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานครภายใต้โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาคประชาชนเพื่อขยายผลการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพระดับปฐมภูมิและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม  ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 18 พื้นที่ 12 เขตสุขภาพ ได้แก่

คลินิกชุมชนอบอุ่นเทศบาลนครแม่สอด จ.ตาก

รพ.สต.หย่วน จ.พะเยา

รพ.สต.บ้านดู่ จ.เชียงราย

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านโฉลง จ.ยะลา

รพ.สต.ควนสุบรรณ จ.สุราษฎร์ธานี

รพ.สต.ไทรทอง จ.สุราษฎร์ธานี

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติบ้านขาม จ.สกลนคร

ชมรมสร้างสุขภาพตำบลหนองคู จ.ชัยภูมิ

รพ.สต.นิคมสร้างตนเอง 2 จ.นครราชสีมา

รพ.สต.โนนสว่าง จ.ร้อยเอ็ด

รพ.สต.โคกใหญ่ จ.ยโสธร

รพ.สต.ตะดอบ จ.ศรีสะเกษ

รพ.สต.หัวถนน จ.ชลบุรี

อำเภอหันคา จ.ชัยนาท

รพ.สต.ไร่ส้ม จ.เพชรบุรี

รพ.สต.นรสิงห์ จ.อ่างทอง

รพ.สต.คลองสวนพลู จ.พระนครศรีอยุธยา

รพ.สต.ชำป่างาม จ.ฉะเชิงเทรา

การจัดเวทีอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่

  1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่แกนนำชุมชน
  2. เพื่อสร้างแกนนำที่มีศักยภาพในการรณรงค์ ส่งเสริม และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในกลุ่มประชาชน
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังและจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

โดยมีเป้าหมาย

   เกิดรูปแบบการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกันระหว่างหน่วยบริการสุขภาพ และภาคประชาชนเพื่อให้เกิดการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ และจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยตนเอง

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. (สำนัก 7)  เป็นเกียรติเปิดงานอบรม

กิจกรรมภายในงาน

   เป็นการอบรมเนื้อหาวิชาการด้านสถานการณ์สุขภาพของโรค NCDs และแนวทางป้องกัน ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ สถานการณ์โรค NCDs ในประเทศไทยและในชุมชน  โดยใช้แนวคิดระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิและการเชื่อมโยงกับภาคประชาชน ให้มีบทบาทในการจัดการโรค NCDs ในชุมชน และนำมาสู่การสำรวจปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยใช้การวิเคราะห์และประมวลผลสถานการณ์สุขภาพในชุมชน สู่การจัดทำแผนการทำงาน ลดความเสี่ยงโรค NCDs ระดับชุมชน โดยใช้เทคนิคการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจในชุมชนเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องโรค NCDs  แก่ประชาชน  ให้มีกิจกรรมสร้างความร่วมมือกับประชาชน หน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

   ในเวทีมีการแบ่งกลุ่มทำ Workshop ใช้วิธีการวาดภาพต้นไม้ปัญหา และให้สรุปความคิดเห็นมาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการร่วมระหว่างเครือข่ายภาคประชาชน และหน่วยบริการสุขภาพ ที่ประกอบไปด้วยหลักการและแนวทางการพัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาพ  การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน  จำลองการจัดทำแผนปฏิบัติการและการนำเสนอแผนงานของเครือข่าย  โดยมีตัวอย่างโครงการ (โรค NCDs) ให้เป็นแนวทาง  สุดท้ายเป็นการมอบโจทย์และประเด็น แผนปฏิบัติการออกแบบการทำงาน เริ่มจากสำรวจสถานการณ์สุขภาพโดยกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มโรค กลุ่มประชาชนทั่วไป หรือเลือกได้ตามบริบทของพื้นที่นำมาวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในชุมชน จนนำมาสู่การพัฒนาเป็นโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมเพื่อนโรคไตฯเป็นโครงการย่อยต่อไป

ความคาดหวัง

   เกิดการปรับทัศนคติ มุมมอง และวิธีการทำงานของระบบบริการปฐมภูมิและกลไกนโยบาย เพื่อปรับกระบวนการจัดบริการ โดยเฉพาะบทบาทด้านสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยบริการและภาคประชาชน และชุมชน รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำให้ประชาชนมีความเข้าใจ มีทักษะ เข้าถึง และประมวลข้อมูลสุขภาพเพื่อใช้ในการตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

เว็บไซต์สมาคมเพื่อนโรคไตฯ: https://www.kfat.or.th/สอบถามข้อมูล โทร 02-2483735 ต่อ 124
facebook : เพจ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล : สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ที่มา : สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
v
v
v
ด้วยความปรารถนาดีจากสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอคำปรึกษาได้ที่นี่ !