สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยเร่งจัดตั้งคณะทำงาน การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

ภัยเงียบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงสุดทั้งนี้เราสามารถป้องกันและห่างไกลจากกลุ่มโรคเรื้อรังหรือ  NCDs    ได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวาน   โรคมะเร็งต่างๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพองโรคไตเรื้อรัง  โรคอ้วนลงพุง  โรคตับแข็ง  โรคสมองเสื่อม   โดยเริ่มจากตัวเรา

เมื่อ 25 พฤศจิกายน  2567ห้องประชุม ไอวี่ 3 โรงแรม ทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานครฯ  สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย  ร่วมกับ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สำนัก 7)  จัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะทำงาน “โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนเพื่อขยายผลการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพระดับปฐมภูมิ และจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม  ในการขับเคลื่อนและสร้างเครือข่ายภาคประชาชน”โดยมี

นายวิสุทธิ บุญญะโสภิต  (อุปนายก สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน)  เป็นประธานคณะทำงาน  นายธนพลธ์ ดอกแก้ว  นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยเป็นเลขานุการพร้อมด้วย

นายจำรัส คำรอด ประธานชมรม อสม. แห่งประเทศไทย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิรัตน์ คำศรีจันทร์  จากบ้านสังคมศิลป์

คุณ อรทัย สุวรรณรักษ์ จาก  สปสช.

คุณทิพยาเนตร  ดวงจันทร์  จาก เครือข่ายสมาคมเพื่อโรคไตแห่งประเทศไทย 

คุณแววดาว  เขียวเกษม  องค์กรเอกชน

คุณศุภลักษณ์  จตุเทวประสิทธิ์  ตัวแทนเครือข่ายเบาหวาน

หน่วยงานในพื้นที่  ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

โดยมี คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย

นพ.ชัชวาล ลีลาเจริญพร อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิมาย

นางสาววีราภรณ์ ภัทรวรานนท์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอพิมาย

นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา

คณะทำงานชุดนี้  มีภารกิจที่ดำเนินงานคือ

  • วางแผนและออกแบบกระบวนการการทำงานตลอดโครงการ
  • ร่วมออกแบบหลักสูตรการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  • ร่วมออกแบบและพัฒนาโครงการของพื้นที่ในระดับตำบล
  • ลงพื้นที่หนุนเสริมการดำเนินงานของพื้นที่ (ตำบล)
  • เชื่อมประสานองค์กร/หน่วยงานต่างๆ ในระดับประเทศและระดับพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ ตำบล)
  • เพื่อสนับสนุนการทำงานของโครงการในแต่ละตำบล
  • การติดตามผลการดำเนินงานของแกนนำ ภาคีเครือข่ายประชาชนและโครงการต่างๆ เพื่อประเมินความสำเร็จและปัญหาที่พบ

พฤติกรรมเสี่ยง…ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญ คือพฤติกรรมเสี่ยง ในการดำเนินชีวิต เช่น  รับประทานอาหาร หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ดังนั้นคณะทำงานชุดนี้  จะทำแบบไหน  อย่างไรให้ประชาชลดความเสี่ยงโรค ที่สร้างขึ้นมาเอง   อย่างต่อเนื่องและขยายเครือข่ายใหม่ให้ครอบคลุมในเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต จำนวน 18 พื้นที่ 

โดยมีสาระสำคัญที่ครอบคลุมประเด็นด้านพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับโรคไต สิทธิประโยชน์ (สวัสดิการทางสุขภาพต่างๆ) ความรู้เรื่อง NCDs การใช้ยาอย่างสมเหตุผล และการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุน สปสข.ท้องถิ่น ต่อไป

เว็บไซต์สมาคมเพื่อนโรคไตฯ: https://www.kfat.or.th/สอบถามข้อมูล โทร 02-2483735 ต่อ 124
facebook : เพจ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูล : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
ที่มา : สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
v
v
v
ด้วยความปรารถนาดีจากสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย
ขอคำปรึกษาได้ที่นี่ !